บทที่ 3 ตัวแปร (Variable)
คุณอาจจะสงสัยว่า VB (Visual Basic) กับ eVB (eMbedded Visual Basic)แตกต่างกันอย่างไร
ที่จริงแล้ว eVB ก็คือ VB นั้นเองเพียงแต่เป็นบางส่วน หรือซับเซตที่อยู่ภายใน
VB เท่านั้น ดังนั้นโครงสร้างการเขียนจึงไม่แตกต่างจาก VB เท่าไหร่นัก ทำให้ผู้มีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมด้วย
VB มาก่อนสามารถทำความเข้าใจกับ eVB ได้ไม่ยาก
ชนิดของตัวแปร
ใน eVB จะสนับสนุนตัวแปรเพียงชนิดเดียวคือ Variant ซึ่งเป็นตัวแปรที่สามารถแสดงได้ทั้งข้อมูลตัวเลขและตัวอักษร
โดยข้อมูลต่างๆ ที่สามารถเก็บในตัวแปร Variant มีดังนี้
ชนิดของข้อมูล
|
ความหมาย
|
Empty
|
ข้อมูลชนิดว่างคือเป็นค่า 0 สำหรับข้อมูลตัวเลขและค่า zero-length
string (??) สำหรับ string
|
Null
|
เป็นข้อมูลที่ถือว่าไม่มีค่าใดๆ
|
Boolean
|
เป็นข้อมูลทางตรรกะ คือ True หรือ False
|
Byte
|
ข้อมูลจำนวนเต็ม ( 8 bit)
|
Integer
|
ข้อมูลจำนวนเต็ม ( 16 bit)
|
Long
|
ข้อมูลจำนวนเต็ม (32 bit)
|
Double
|
ข้อมูลเลขทศนิยม
|
Date(time)
|
ใช้เก็บวันที่ตั้งแต่ 1 มกราคม ค.ศ. 100 ถึง 31 ธันวาคม 9999
|
String
|
สตริงใช้เก็บตัวอักษรได้ถึงสองล้านตัวอักษร
|
Object
|
เป็นตัวแปร Object
|
การประกาศตัวแปร (Variable Declaration)
การประกาศตัวแปร จะเป็นการบอกโปรแกรมว่าเราต้องการนำตัวแปรนี้มาใช้โดยการประกาศตัวแปร
เราจะใช้คำสั่งดังรูปแบบต่อไปนี้
Dim <ชื่อตัวแปร>
สำหรับการตั้งชื่อตัวแปร เราต้องตั้งชื่อตามกฎต่อไปนี้
-ชื่อตัวแปรต้องไม่ซ้ำกันในโปรแกรมเดียวกัน
-ชื่อตัวแปรต้องไม่ซ้ำกับคีย์เวิร์ด (คำสงวน) ของ eVB เช่น คำว่า Dim, Integer
เป็นต้น
-ความยาวต้องไม่เกิน 255 ตัวอักษร
-จะต้องเริ่มต้นด้วยตัวอักษร A-Z หรือ a-z
ตัวอย่างการประกาศตัวแปร
Dim Name, LastName
จากตัวอย่างเป็นการสร้างตัวแปร 2 ตัว ชื่อ Name และ LastName เป็นชนิด Variant
ชนิดของการประกาศตัวแปร
การประกาศตัวแปรใน eVB จะมีอยู่ 2 แบบคือ
- การประกาศตัวแปรโดยไม่ใช้คำสั่ง Dim เช่น Name="TELECOM INFO" และ Num=1234567890
จากตัวอย่าง การประกาศตัวแปรจะไม่ใช้คำสั่ง Dim แต่จะใช้การกำหนดค่าให้กับตัวแปรแทน
ซึ่งถ้าตัวแปรที่ถูกกำหนดค่ายังไม่ถูกประกาศคำสั่งนี้ก็จะทำการประกาศและกำหนดค่าตัวแปรให้ด้วย
- การประกาศตัวแปรโดยใช้คำสั่ง Dim เหมือนกับตัวอย่างแรกที่กล่าวในตอนต้น
หากคุณต้องการที่จะไม่ใช้คำสั่ง
Dim ในการประกาศตัวแปร สามารถทำได้โดยทำการลบบรรทัดของโค้ด Option
Explicit ที่อยู่ด้านบนสุด ของ Code Editer ออกไป แต่หากคุณไม่ลบโค้ด
บรรทัดดังกล่าวออก การประกาศตัวแปรใหม่จะต้องมีการใช้คำสั่ง Dim เสมอ
ข้อแนะนำคือ คุณควรใช้ Option Explicit และ Dim เพื่อให้โปรแกรมของคุณ
สามารถเข้าใจได้ง่าย และเป็นระเบียบมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ปัญหาของการประกาศตัวแปรซ้ำ
ไม่เกิดขึ้น เมื่อกลับมาตรวจสอบโค้ดของโปรแกรม ก็จะสะดวกยิ่งขึ้น |
|