บทที่ 7 Network Connection
บทที่ 7 Network Connection
Generic Connection Framework
Generic Connection Framework (GCF) เป็นชุดของ API ที่ถูกกำหนดไว้ใน
CLDC โดยสามารถเรียกใช้ ผ่านทาง javax.microedition.io
โดยหากเป็น ชุดของการติดต่อ เน็ตเวอร์ค ของ J2SE เค้าจะใช้
java.io.* และ java.net.* ซึ่งไม่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน บนอุปกรณ์ ที่มีขนาดเล็ก
(ในที่นี้คือ มือถือ) ที่มีความต้องการใช้งาน หน่วยความจำที่น้อย ในการติดต่อผ่าน
TCP และ UDP (TCP คือ การติดต่อ ที่มีการยืนยันการรับ และการส่ง, UDP จะเป็นการติดต่อ
ที่ไม่มีการยืนยันข้อมูลที่รับและส่ง)
เพื่อให้เห็นภาพ ผมขอเปรียบ การส่งแบบ TCP เหมือนกับการโทรศัพท์
ถ้ามีการโทร(ส่งข้อมูล) หากมีผู้รับ ก็จะทราบ หรือไม่มีผู้รับสาย ผู้โทรก็จะทราบ
แต่ การส่งแบบ UDP เปรียบเสมือนการส่งจดหมายธรรมดา ที่ผู้รับจะได้รับ จดหมายหรือไม่
ทางผู้ส่ง ก็ไม่ทราบได้ บางคนอาจจะแย้งว่า ก็โทรไปถามสิ คำตอบของผม คือทำได้ครับ
ที่จะให้ UDP มีการตอบยืนยันข้อมูล ซึ่งตรงนี้ คุณต้องเขียนรูปแบบ ขึ้นมาเองครับ
ตัวหลักๆของ UDP ไม่ได้จัดการในส่วนนี้ไว้ให้
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม ของ TCP และ UDP คุณสามารถ หาอ่านได้จาก
บทความ ที่เว็บไซต์ www.sourcecode.in.th ครับ
GCF classes & interfaces
รูปแบบโครงสร้างของการใช้งาน Class และการติดต่อใช้งาน จะแสดงดังรูป
รูปที่ 52 แสดง Class ในการสร้างการติดต่อ
จากรูป จะเห็นได้ว่า ในการสร้าง การติดต่อ สามารถกระทำได้ 4 ทางด้วยกันคือ
- DatagramConnection, เพื่อส่งและรับข้อมูล แบบ UDP
- InputConnection, เพื่อรับข้อมูล
- OutputConnection, เพื่อส่งข้อมูล
- StreamConnectionNotifier, เพื่อรอ การติดต่อ
โดยการติดต่อทั้งหมด จะทำการติดต่อผ่าน StreamConnection(ทำงานทั้งรับ และส่ง)
Connector Class
Connector Class เป็น คลาสที่ใช้ในการสร้างการติดต่อ ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน
คือ
- public static Connection open(String name)
- public static Connection open(String name, int mode)
- public static Connection open(String name, int mode, boolean timeout)
ซึ่ง รายละเอียดของ พารามิเตอร์ที่ใช้ ได้แก่
- name บอกรูปแบบการติดต่อที่เป็นแบบ URI
- mode กำหนดลักษณะการใช้งาน ซึ่งได้แก่ READ, READ_WRITE, WRITE
- timeout กำหนดช่วงเวลา ในการสร้างการติดต่อ ไม่ให้เกินจากค่าที่กำหนด
หากเกินค่าที่ตั้งไว้ จะไม่ทำการเชื่อมต่อให้
รูปแบบการสร้างการติดต่อแบบอื่นๆ
- DataInputStream openDataInputStream(String name)
- InputStream openInputStream(String name)
- DataOutputStream openDataOutputStream(String name)
- OutputStream openOutputStream(String name)
รูปแบบของ URI จะใช้เป็น <scheme>:<scheme-specific-part>
ตัวอย่างเช่น
- HTTP Connection
- Connector.open("http://jananet.com/");
- Datagram Connection
- Connector.open("datagram://www.jananet.com:7070");
- Socket Connection
- Connector.open("socket://127.0.0.1:5555");
- Communication with a port
- Connector.open("comm:0, ;baudrate=9600");
- Open File
- Connector.open("file://temp.txt");
คุณจะสังเกตุเห็นว่า จะมีการใช้เครื่องหมาย โคล่อน (" : ") ในการคั่น
เพื่อบอกถึงหมายเลขพอร์ท (สำหรับผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐานเรื่อง Network สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้จาก
บทความ ที่เว็บไซต์ www.sourcecode.in.th )
ขอเพิ่มเติมอีกนิด สำหรับเรื่องหมายเลขพอร์ท, ในเรื่องของหมายเลข
ที่คุณสามารถกำหนดขึ้นมาได้เอง แต่ต้องไม่ ไปซ้ำกับ หมายเลขที่เป็นมาตรฐาน
เช่น
- 7 echo
- 21 FTP
- 25 SMTP
- 80 HTTP (Hypertext Transfer Protocol)
- 109 POP
- 53 DNS (Domain Name Service)
Java Networking Model
ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างเครื่อง สองเครื่อง บนระบบเน็ตเวิร์ค จะมีเครื่องนึงที่เป็นเครื่องที่ใช้บริการ
(เครื่อง Server) และอีกเครื่อง ที่เป็นเครื่อง ที่ขอใช้บริการ (เครื่อง
Client) ดังรูป
รูปที่ 53 แสดง การติดต่อสื่อสารระหว่าง
Client/Server
จากรูปจะเห็นได้ว่าเครื่องที่เป็น Server จะทำหน้าที่รอคอย การร้องขอ จากเครื่อง
Client และเมื่อเครื่อง Client ทำการติดต่อมา เครื่อง Server ก็จะรับการติดต่อนั้น
หลังจากนั้น ทั้งสองเครื่องจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ เมื่อสิ้นสุด
การทำงาน ก็จะปิดท้ายด้วยการ ตัดการติดต่อระหว่างกัน
สำหรับในเรื่องนี้ ในภาคปฏิบัติ ก็จะมีการแสดงโค้ด ให้เห็นถึงการทำงานของ
Client/Server ครับ
HTTP Basic
การติดต่อกันระหว่างเครื่อง Server และเครื่อง Client ในการบริการเว็บ จะอาศัย
รูปแบบมาตรฐาน (Protocol) ที่ชื่อว่า HTTP (Hypertext Transfer Protocol)
โดยรูปแบบ จะแสดงดังรูป
รูปที่ 54 แสดง การติดต่อสื่อสารระหว่าง
Client/Server ผ่าน HTTP
การทำงานจะเริ่มเมื่อ ผู้ใช้ ทำการเรียกโปรแกรม ที่ใช้สำหรับดูเว็บ (ไม่ว่าจะเป็นของค่ายไหนก็ตาม)
แล้วทำการป้อน เว็บที่ต้องการเข้าไป ,โปรแกรมดังกล่าวจะทำการหา ที่อยู่ขอข้อมูล
และจะไปขอข้อมูลจากเครื่องที่ให้บริการ (Web Server) , เครื่องที่ให้บริการ
ก็จะทำการส่งข้อมูล กลับมายังโปรแกรม เพื่อแสดงผล
ในการติดต่อระหว่างเครื่องที่เป็น Client และ Server จะอาศัยรูปแบบ Protocol
ตามที่ได้กำหนดกันมา หากเป็นเว็บ ก็จะใช้ HTTP ซึ่งมีรูปแบบข้อมูลที่ส่งระหว่างกัน
เป็นคำสั่งที่เป็นอักษร
HTTP Request/Response
- Request คือ การร้องขอ ข้อมูล ที่ส่งจาก Client ไปยัง Server
- Respone คือ การตอบกลับ จาก Server ไปยัง Client
วิธีการร้องขอแบบ Get และ Post
- แบบ Get จะเป็นการร้องขอข้อมูลที่ จะมีการแสดงข้อมูลที่ส่งแนบไปด้วยหรือไม่มีก็ได้
โดยข้อมูลดังกล่าวจะแสดงให้ผู้ใช้ได้เห็น และมีข้อจำกัดของข้อมูลเพียง
240 ตัวอักษร
- แบบ Post จะเป็นการร้องขอข้อมูลที่ จะมีการแสดงข้อมูลที่ส่งแนบไปด้วยหรือไม่มีก็ได้
โดยข้อมูลดังกล่าวจะไม่แสดงให้ผู้ใช้ได้เห็น และสามารถส่งข้อมูลได้มาก(ถึงระดับ
MB)
Message Header
คือส่วนหัวของการร้องขอ หรือ การตอบสนอง ที่ถูกส่งระหว่างเครื่อง Server
กับ Client
ส่วนของการร้องขอ ของ Client จะมีการแจ้งข้อมูล ให้ Server ทราบถึงลักษณะของข้อมูล
ที่เครื่อง Client สามารถรับได้ไปด้วย เพื่อให้ Server ทำการส่งข้อมูลที่ถูกต้องมาให้
ตัวอย่างของ HTTP Request เช่น
User-Agent: Profile/MIDP-1 Configuration/CLDC-1.0
Accept: text/xml
Connection: Keep-Alive
จากรูปแบบ ของ Message Header ข้างต้น จะบอกถึงว่า เครื่องที่เป็น Client
จะใช้ MIDP 1.0 และ CLDC 1.0 พร้อมทั้ง สามารถรับไฟล์ที่เป็น xml ซึ่งการติดต่อนี้
จะถูกเก็บรักษาไว้ เมื่อมีการร้องขอ ข้อมูลอีกครั้ง ก็จะใช้ สภาพแวดล้อมเดียว
กับครั้งที่แล้ว เช่น session หรือ cookie ค่าเดิม
ส่วนของการตอบสนอง ของ Server จะมีการแจ้งข้อมูล ให้ Client ทราบถึงผลของข้อมูลที่
Client ต้องการ ตัวอย่างของ HTTP Response เช่น
HTTP/1.1 200 OK
Date: Sunday 11-June-2002 04:14:12 GMT
Server JavaWebServer/1.1.1
MIME-Version: 1.0
Content-type: text/html
Content-length: 1029
Connection: Keep-Alive
Last-modified: Thursday 7-May-2000 12:15:35 GMT
MIDP Connectivity
ในการที่เราจะใช้ MIDP สร้างการติดต่อ ผ่านทาง Socket สามารถกระทำได้ โดยผ่านทางการสร้าง
Connector ดังตัวอย่าง
- สร้างการติดต่อ
- StreamConnection connection = (StreamConnection) Connector.open("socket://localhost:5050",
Connector.READ_WRITE);
- เปิดการติดต่อ
- DataInputStream is = connection.openDataInputStream();
- DataOutputStream os = connection.openDataOutputStream();
สำหรับการติดต่อกับเว็บ (HTTP) ก็สามารถกระทำได้เช่นเดียวกัน โดยผ่านทาง
HttpConnection ซึ่งอยู่ใน javax.microedition.io.HttpConnection และจะมีสถานะการทำงาน
3 สถานะ คือ
- สร้าง
- ติดต่อส่งข้อมูล
- ปิดการติดต่อ
ซึ่งในการเปลี่ยนกันระหว่างสถานะแต่ละสถานะ สามารถกระทำได้ผ่าน เมธอด
- เปลี่ยนจากสถานะ สร้าง ไปเป็น สถานะ ติดต่อส่งข้อมูล
- openDataOutputStream(), openOutputStream(), openDataInputStream(),
openInputStream(), getLength(), getType(), getHeaderField(), getEncoding(),
getResponseCode(), getDate()
- เปลี่ยนจากสถานะ เมื่อสถานะปัจจุบันเป็น การติดต่อส่งข้อมูล
- close(), getRequestMethod(), getURL(), getHost(), getFile(), getPort()
ตัวอย่างในการสร้าง การติดต่อ จะมีขั้นตอนดังนี้
- สร้างตัวติดต่อ
- HttpConnection c = (HttpConnection) Connector.open("http://localhost:8080");
- กำหนดรูปแบบการติดต่อ
- c.setRequestMethod(HttpConnection.GET);
- กำหนดคุณสมบัติของการติดต่อ
- c.setRequestProperty("User-Agent", "Profile/MIDP-1.0
Configuration/CLDC-1.0");
HTTP sessions & cookie
เมื่อเราทำการติดต่อกับ Web Server เพื่อร้องขอข้อมูล การติดต่อ อันนั้นจะเป็นการสร้าง
Session ขึ้นบน Server เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ท่านนั้น และจะมีการส่งข้อมูลของรหัส
Cookie มากับการตอบสนอง ดังตัวอย่างของ HTTP Response
HTTP/1.1 200 OK
Content-Type: text/plain
Content-Length: 53
Date: Tue, 18 Dec 2001 17:19:22 GMT
Server Apache Tomcat/4.0.1 (HTTP/1.1 Connector)
Set-Cookie:JSESSIONID=XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX;Path=/midp
จะสังเกตุได้ว่ามีการส่ง หมายเลขของ Cookie มาให้
ในการจะดึงข้อมูลของ Cookie สามารถทำได้โดยอาศัยเมธอด getHeaderField()
ดังตัวอย่าง
HttpConnection hc = (HttpConnection) Connector.open(url);
String cookie = hc.getHeaderField("Set-Cookie");
if(cookie != null) {
int semicolon = cookie.indexOf(';');
mSession = cookie.subString(0, semicolon);
}
และเมื่อคุณต้องการจะส่ง cookie ไปกับการร้องขอ อีกครั้ง สามารถทำได้ผ่าน
เมธอด setRequestProperty() ดังแสดงใน ตัวอย่าง
HttpConnection hc = (HttpConnection) Connector.open(url);
if(mSession != null) hc.setRequestProperty("Cookie", mSession);
ในบทนี้ เราได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ
ลักษณะของ การติดต่อสื่อสาร ข้อมูล ระหว่าง Client/Server ซึ่งมีประโยชน์
เป็นอันมาก ในการใช้พัฒนาโปรแกรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ให้คุณทดลองโปรแกรมในภาคปฏิบัติ
จะได้เห็นถึงการใช้งานจริง
|