Class
บทนี้เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการเขียนโปรแกรมภาษา
C++ นะครับ
|
|
|
|
#include <iostream.h>
class one
{
int value;
public:
void set(int in);
int get(void);
};
void one::set(int in)
{
value=in;
}
int one::get(void)
{
return value;
}
int main()
{
one c1,c2;
int dd=5;
c1.set(dd);
c2.set(20);
cout<<c1.get()<<"\n";
cout<<c2.get();
return 0;
}
|
|
|
|
|
[Download Code]
นี่เป็นตัวอย่างแรกเกี่ยวกับการใช้คลาสนะครับ
โดยวิธีการสร้างคลาสก็ทำคล้ายๆกับ structure นะครับ แต่ข้อมูลในคลาสนั้นจะมีหลายชนิดครับ
ในตัวอย่างนี้เราจะเห็นข้อมูล 2 ชนิดนะครับ ชนิดแรกก็คือชนิด private ก็คือข้อมูลปกติของคลาสในตัวอย่างก็คือ
value ครับ ข้อมูลชนิดต่อมาก็คือ public ต้องชื่อคำสั่ง public : ก่อนแล้วจึงสร้างข้อมูลชนิดนี้
ฟังดูแค่ชื่อก็พอจะรู้แล้วนะครับว่า
2 อย่างนี้ต่างกันอย่างไร private แปลตรงๆ ก็คือส่วนตัว หมายถึง ข้อมูลชนิดนี้จะถูกซ่อนไว้และเราไม่สามารถอ้างถึงข้อมูลเหล่านี้ได้
ส่วนข้อมูล public แปลตรงๆ ก็คือ สาธารณะ นั่นหมายถึง เราสามารถเรียกใช้ข้อมูลเหล่านี้
ในส่วนอื่นของโปรแกรมได้ครับ ดังนั้น วิธีที่เราจะสามารถเข้าถึงข้อมูลชนิด
private ได้ก็ต้องใช้ข้อมูลชนิด public นี่ล่ะครับช่วย
หลังจากเราสร้างคลาสเสร็จแล้วเราก็จะมากำหนดส่วนของฟังก์ชั่นกันนะครับ
ฟังก์ชั่นเหล่านี้เป็นข้อมูลชนิด public ดังนั้นจึงสามารถเรียกใช้ในส่วนของโปรแกรมได้
สำหรับวิธีกำหนดนั้นแปลกกว่าการกำหนดฟังก์ชั่นทั่วไปนั้นคือ ถ้าฟังก์ชั่นของเราชื่อว่า
set เป็นแบบ void ทั่วไปเราจะใช้ว่า void set(int in) แต่ถ้าเป็นคลาส เราจะใช้ว่า
void one::set(int in) โดยจะต้องใช้ชื่อคลาสขึ้นก่อนตามด้วยเครื่องหมาย ::
ครับ
การกระทำของฟังก์ชั่น set() คือการให้ค่าแก่
value ครับ นี่แหละครับคือวิธีการเข้าถึงข้อมูลชนิด private ดังนั้น หากเราต้องการให้ค่าแก่
value เราก็ต้องใช้คำสั่ง set() เช่น c1.set(dd) แต่ถ้าเราใช้คำสั่ง c1.value=dd
ก็จะไม่สามารถทำได้เพราะ value เป็นข้อมูลชนิด private ครับ ในส่วนของเมนก็ไม่มีอะไรนะครับ
วิธีการเรียกใช้คลาสก็คล้ายๆกับ structure ครับ
เพื่อนๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ!
ทำไมเราไม่กำหนด value ให้เป็น public ไปเลยจะได้ไม่ต้องยุ่งยาก ทั้งนี้ก็เพราะเมื่อเราเขียนโปรแกรมใหญ่ๆ
โอกาสผิดพลาดจะมีน้อยครับ เพราะข้อมูลชนิด private จะถูกซ่อนไว้ ถ้าเราไม่ตั้งใจไปยุ่งกับมัน
มันก็จะไม่เปลี่ยนแปลงไปครับ
ส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ c1 ที่เราสร้างขึ้นมาไม่ใช่ตัวแปรนะครับ
แต่เราจะเรียกมันว่าเป็น object ของคลาส one ครับ
|
|
|
|
#include <iostream.h>
class one
{
int value;
public:
one(void);
void set(int in);
int get(void);
};
one::one(void)
{
value=10;
}
void one::set(int in)
{
value=in;
}
int one::get(void)
{
return value;
}
int main()
{
one c1,c2,c3;
int dd=5;
c1.set(dd);
c2.set(20);
cout<<c1.get()<<"\n";
cout<<c2.get()<<"\n";
cout<<c3.get();
return 0;
}
|
|
|
|
|
[Download Code]
ตัออย่างนี้เหมือนกับตัวอย่างแรกเว้นว่าในส่วนของ
public ผมได้เพิ่ม one(void) เข้าไป อันนี้เรียกว่า constructure ครับ โดยตัว
constructure นี้จะมีชื่อเดียวกันกับชื่อของคลาส โดยส่วนนี้จะถูกเรียกใช้โดยอัตโนมัติหลังจากเราสร้าง
object ขึ้นมาครับ
ในส่วนของเมนผมได้เพิ่ม c3 เข้าไป
แต่ไม่ได้กำหนดค่าอะไรให้ จากนั้นเราก็ให้พิมพ์ค่าออกมา จะเห็นว่าค่าของ
c3 จะเป็นค่าที่ constructure กำหนดให้โดยอัตโนมัติครับ
|
|
|
|
#include <iostream.h>
class one
{
int value;
public:
one(void) {value=10;};
void set(int in) {value=in;};
int get(void) {return value;};
};
int main()
{
one c1,c2,c3;
int dd=5;
c1.set(dd);
c2.set(20);
cout<<c1.get()<<"\n";
cout<<c2.get()<<"\n";
cout<<c3.get();
return 0;
}
|
|
|
|
|
[Download Code]
ตัวอย่างนี้เหมือนกับตัวอย่างที่ผ่านมา
แต่สั้นกว่าเพราะผมได้ใช้วิธีการเขียนคำสั่งต่อจากฟังก์ชั่นเลยครับ วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมมากถ้าคำสั่งสำหรับฟังก์ชั่นไม่ยากมากนัก
เพราะจะทำให้เขียนและตรวจสอบได้ง่ายครับ
|
|
|
|
class one
{
int value;
public:
one(void);
void set(int in);
int get(void);
};
one::one(void)
{
value=10;
}
void one::set(int in)
{
value=in;
}
int one::get(void)
{
return value;
}
|
|
|
|
|
[Download Code]
|
|
|
|
#include <iostream.h>
#include "file.h"
int main()
{
one c1,c2,c3;
int dd=5;
c1.set(dd);
c2.set(20);
cout<<c1.get()<<"\n";
cout<<c2.get()<<"\n";
cout<<c3.get();
return 0;
}
|
|
|
|
|
[Download Code]
ตัวอย่างนี้ให้กำหนดส่วนบนสุดเป็นไฟล์ชื่อว่า
file.h ส่วนที่ 2 ให้กำหนดเป็นไฟล์ชื่ออะไรก็ได้จุด cpp ครับ
|
|
|
|
#include <iostream.h>
class person
{
protected:
int height;
int width;
public:
void set(int h,int w) {height=h, width=w;};
int get(void) {return height*width;
};
};
class student: public person
{
public:
int get(void) {return height*width;};
};
int main()
{
person one;
student two;
one.set(170,50);
two.set(150,45);
cout<<one.get()<<"\n";
cout<<two.get()<<"\n";
return 0;
}
|
|
|
|
|
[Download Code]
ตัวอย่างนี้แสดงวิธีการใช้งานคลาสร่วมกันครับ
โดยเราจะมีคลาสที่เรียกว่า parent class (ผมขอเรียกว่าคลาสแม่ ก็แล้วกันครับ)
ในตัวอย่างก็คือ person ครับ โดยภายในนี้จะมีข้อมูลอีกชนิดของคลาสก็คือ protected
จะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถเรียกใช้โดยทั่วไปแต่สามารถถูกเรียกใช้โดย derived
class (ผมขอเรียกว่าคลาสลูก ก็แล้วกันครับ) ในตัวอย่างก็คือ student ครับ
จากตัวอย่างจะเห็นว่าเมื่อเราเริ่มสร้างคลาส
student จะมีคำสั่ง :public person นั่นหมายถึงให้เป็น derived class ของ
person ครับ ดังนั้นคลาสนี้จึงสามารถเรียกทุกส่วนของ person ได้ยกเว้นส่วนที่เป็น
private ครับ
เมื่อเราเริ่มส่วนของเมน เราเรียกใช้ฟังก์ชั่น
set ซึ่งไม่มีใน student ดังนั้นมันก็จะไปเรียกใช้ของ person แทนครับ
|